Jun 23, 2012

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี


Public Participation in Local Development Planning 
of Nong Han District Management Organization, Udon Thani
                สมบัติ  ทัพธานี*

บทคัดย่อ                                    
                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้ง และอาศัยอยู่ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยการสุ่มอย่างง่าย ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ จำนวน 397 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ค่าร้อยละของความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)
ผลการวิจัยพบว่า
                          1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่าประชาชนมีส่วนร่วม ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในระดับปานกลาง เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 2 ด้าน โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ในขณะที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อยจำนวน 2 ด้าน โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
                          2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
                                2.1 จำแนกตามเพศ โดยรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน
                                2.2 จำแนกตามช่วงอายุ โดยรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณา ในแต่ละด้านพบว่าด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
                                2.3 จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ในขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน
                                2.4 จำแนกตามอาชีพ โดยรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน
                                2.5 จำแนกตามรายได้ โดยรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำ แผนพัฒนาท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน

คำสำคัญการมีส่วนร่วม,  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น


 * นักศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี  E-mail : Tinkly2554@gmail.com

ABSTRACT


ABSTRACT
                 The objective of this research was to study and compare public participation in local development planning of Nong Han District Management Organization, Udon Thani by classifying the subjects according to their age, education and income. 397 people who live in Nong Han District, Udon Thani, were selected by simple random sampling. For data analysis, Statistical Package doe the Social Sciences (SPSS) was utilized to analyze percentage of frequency, means, Standard Deviation, t-test, One-way ANOVA and Scheffe’s Post hoc Comparison Method.
Finding were as the follows:
1. Overall, it was found that the level of public participation in local development planning
of Nong Han District Administration Organization, Udon Thani, was moderate. When considering
in each dimension, it was found that people in the district participate in ‘operation activity’ and ‘problem definition’ highly. Meanwhile, there are two dimensions of lower public participation in local development planning, including ‘participation in decision making’ and ‘evaluation’.

บทนำ

             องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่น อันมีหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข แต่ในการฏิบัติงานนั้น จำเป็นจะต้องให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น เพราะประชาชนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่จะเป็นผู้รู้ปัญหา รู้ข้อมูลและรู้ความต้องการของท้องถิ่นตนเองอย่างแท้จริง และจากการปฏิบัติตามแผนพัฒนา ขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ผ่านมา ปรากฏว่า จากฐานข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.2) คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่อำเภอหนองหานยังไม่บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องชี้วัด ได้แก่ ประชาชนในครัวเรือนยังติดสุรา การรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพ และมาตรฐาน และการไม่เข้าร่วมกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นในหมู่บ้าน รองลงมา ร้อยละ 76.9 ได้แก่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน และไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อผลประโยชน์ของชุมชน (สรุปฐานข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน จปฐ.2 อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี, 2551) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เริ่มตั้งแต่การร่วมในการกำหนดปัญหา ร่วมในการตัดสินใจ ร่วมในการดำเนินกิจกรรม และร่วมในการประเมินผล
                จากปัญหาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้ทราบถึงระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนอันจะนำไปสู่การแสวงหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย


            1. เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
         2. เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้

สมมุติฐานของการวิจัย

                การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีความแตกต่างกัน

วิธีดำเนินการวิจัย

                 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปเป็นผู้มีสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง และอาศัยอยู่ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 58,605 คนจาก 10 ตำบล กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการคำนวณจากสูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ระดับ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 397 คน
                2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องตามเนื้อหา แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาและความตรงเชิงโครงสร้างของข้อคำถาม นำแบบสอบถามไปหาค่าความเชื่อมั่น โดยนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จำนวน 30 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ เอลฟา (µ–Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.96
                3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ติดต่อประสานงานกับผู้นำหมู่บ้าน เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลและนัดหมายวันเวลาที่จะเข้าเก็บรวบรวมข้อมูล และไปพบกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วยตนเอง อธิบายชี้แจงวิธีการตอบแบบสอบถามจนเป็นที่เข้าใจตรงกัน แล้วขอความร่วมมือให้ตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง ซึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะกระทำ ด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้น ไปจนครบ 397 คน แล้วนำแบบสอบถามที่ตอบแล้วมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยต่อไป
                4. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์คุณลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) เสนอข้อมูลเป็นตาราง วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมุติฐานเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (t-test for Independent Samples) และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จำแนกตามอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–way Analysis of Variance หรือ One–way ANOVA) และเมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ (Multiple Comparison) โดยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัย

                 1. ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พบว่า         
                    ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในระดับปานกลาง (= 2.72, S.D. = 0.68 ) เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 2 ด้าน โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ( = 3.28,  S.D. = 0.69 ) และด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ( = 2.78, S.D. = 0.77  ) ในขณะที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับน้อยจำนวน 2 ด้าน โดยเรียงลำดับของค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( = 2.41,  S.D. = 0.81 ) และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ( = 2.35,  S.D. = 0.79 )
                2.  ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำแนกตาม เพศ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า

สรุปผลการวิจัย

                 จากการศึกษา การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล
ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัย ดังนี้
                1. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในระดับปานกลาง     
                2. ผลการเปรียบเทียบ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ สรุปผลได้ดังต่อไปนี้
                         2.1 ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน
                         2.2 ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามอายุ โดยภาพรวมพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหา ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ และด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 ส่วนด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05     

การอภิปรายผล

                 จาการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ผลการศึกษาสามารถนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้
                1. ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับ สากล ภู่ขันเงิน (2548) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าการพัฒนาท้องถิ่นนั้นถึงแม้ประชาชนจะมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้ายก็ตาม แต่เป็นเพียงการมีส่วนร่วมตามรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น แต่สภาพความเป็นจริง การคิด การตัดสินใจ และการติดตามประเมินผลในการพัฒนาท้องถิ่นนั้นมักจะเป็นเรื่องของผู้นำท้องถิ่นและข้าราชการส่วนท้องถิ่นมากกว่า เนื่องจากประชาชนยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของตนเองในการเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง ประกอบกับค่านิยมที่เกรงใจ เกรงกลัวผู้นำท้องถิ่นและข้าราชการ จึงกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น ดังนั้น ในการแก้ปัญหาในบางครั้ง จึงไม่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับปัญหาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาซึ่งพบว่า ประชาชนบางครั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการ พัฒนา เพราะเกิดจากความเกรงใจ หรือการถูกบีบบังคับจากผู้มีอำนาจหรือภาครัฐ  

ข้อเสนอแนะ

                 จากผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตเภอหนองหาน จึงควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ในกระบวนการจัดทำแผน ตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับข้อมูลในหมู่บ้านในด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม และประเด็นปัญหาที่กระทบต่อคนในชุมชน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในด้านต่างๆ จากชาวบ้านทั้งหมู่บ้านและนำไปสู่การวางแผน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ตามแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านในระดับหมู่บ้านได้เรียนรู้ถึงกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านและมีความเข้าใจบริบทของหมู่บ้านของตนเองมากขึ้นอีกทั้งเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนาจิตใจให้ชาวบ้านได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเองและส่วนรวม และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการพัฒนาจากฐานรากชุมชนเพื่อความยั่งยืนต่อไป

บรรณานุกรม

กิตติม์  บุญชูวิทย์.  2544.  การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของประชาชนในเขตจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น :
                คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เดชอุดม  ขุนทอง.  2550.  การศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบล : กรณีศึกษาตำบล
พิจิตร อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
วิวัฒน์  ภู่คะนองศรี.  2536.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์
                ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สากล  ภู่ขันเงิน.  2548.  การมีส่วนร่วมของประชาชนตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในการจัดทำ
แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมศักดิ์  น้อยนคร.  2551.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัด
อุตรดิตถ์.  วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์